วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion) 4จบ

สวัสดีคะ ^/\^

โพสต์ครั้งนี้มาต่อกับการใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต และส่วนประกอบโลหิตพิเศษ เพื่อการรักษาทางการแพทย์  ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ

การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต (Blood Components and Blood Products)

15. 20% Human Albumin Solution ใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคขาดอาหาร โรคตับ เป็นต้น

16. เซรุ่มต้านโรคพิษสุนัขบ้า (Human Rabies Immunoglobulin: HRIG) แยกส่วนประกอบของพลาสมาของผู้ที่เข้าโครงการบริจาคพลาสมาเพื่อจัดทำเซรุ่ม ใช้สำหรับรักษาโรคหลังจากถูกสุนัขบ้ากัด

17. เซรุ่มต้านโรคไวรัสตับอักเสบ บี (Hepatitis B Immunoglobulin: HBIG) ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบ บี

18. กาวไฟบริน (Fibrin Glue) มีคุณสมบัติพิเศษใช้สำหรับห้ามเลือดเฉพาะที่ ประสานรอยแผลเย็บ สามารถใช้ในการผ่าตัดต่อเชื่อมเส้นประสาทและเส้นเลือดขนาดเล็ก และช่วยในการยึดติดของเนื้อเยื่อ ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดไม่บอบช้ำจากการผ่าตัด ผู้ปวยโรคฮีโมฟีเลียเลือดออกง่ายหยุดยาก, การถอนฟัน เป็นต้น


ส่วนประกอบโลหิตพิเศษ เพื่อการรักษาทางการแพทย์

1. เม็ดโลหิตขาวจากผู้บริจาคโลหิตรายเดียว (Single Donor Granulocyte) ใช้กับคนไข้ภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง หรืที่ให้ยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้ผล

2. เกล็ดโลหิตชนิดผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Platelet Concentrate: SDP) ใช้กับคนไข้ที่มีเลือดออกง่าย เพราะเกล็ดเลือดต่ำจากสาเหตุกระดูกฝ่อ, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, ภาวะติดเชื้อรุนแรง, เกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ และผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก

3. พลาสมาสดแช่แข็งที่รับจากผู้บริจาครายเดียว (Single Donor Fresh Frozen Plasma หรือ Donor Retestt-Plasma: DR-FFP) ใช้กับผู้ป่วยที่มีโปรตีนต่ำ เช่น ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โรคตับ เป็นต้น

4. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น 2 ถุง จากผู้บริจากรายเดียว (Single Donor Red Cell: SDR) ใช้กับคนไข้ที่มีภาวะโลหิตจางจากสาเหตุต่างๆ ผู้ป่วยโรคธาลัสซิเมีย หรือผู้ป่วยที่มีแอนติบอดีต่อต้านเม็ดโลหิตขาว หรือใช้ในผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ

เลือดมีคุณสมบัติมากมาย ขอให้ฉายาว่า "เล็กพริกกขี้หนู" โปรดติดตามโพสต์ถัดไปคะ ^/\^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น