วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blod Components Transfusion) 3

สวัสดีคะ ^/\^

โพสต์ครั้งที่แล้วได้กล่าว 7 ข้อแรก การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิตไป  แล้วเรามาดูข้อถัดไปกันคะ ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ


การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต (Blood Components and Blood Products)

8. พลาสมาสดแช่แข็ง (Fresh Frozen Plasma: FFP) ใช้รักษาผู้ป่วยขาดโปรตีน เช่น ไข้เลือดออกที่มีอาการช็อก, ฮีโมฟีเลีย, ไฟไหม้น้ำร้อนลวก สามารถเก็บได้นาน 1 ปี

9. พลาสมาสดแช่แข็งที่มีเม็ดโลหิตต่ำมาก (Leukodepleted Fresh Frozen Plasma: LDFFP) การนำพลาสมาที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำเก็บไว้ในลักษณะแช่แข็งทันทีช่วยลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ ใช้รักษาโรคที่ขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น สามารถเก็บได้นาน 1 ปี

10. ไครโอปรีซิฟิเตท (Cryoprecipitate) เตรียมจากพลาสมาสดแช่แข็งประกอบด้วยแฟคเตอร์ 8 รักษาโรคฮีโมฟิเลีย เอ, แฟคเตอร์ 1 รักษาโรคขาดไฟบริโนเจน

11. พลาสมาธรรมดา (Cryo-Removed Plasma: CRP) ใช้ในผู้ป่วยโลหิตออกเนื่องจากโรคตับแข็ง, ฮีโมฟีเลีย บี, โรคขาดน้ำเหลืองมีอาการช็อกเนื่องจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก

12. พลาสมาสดแห้ง (Fresh Dried Plasma: FDP) มีคุณสมบัติเหมือนพลาสมาสดแช่แข็ง นำพลาสมาสดทำให้แห้งโดยวิธีการระเหิด มีคุณสมบัติทางชีวภาพและการแข็งตัวของเลือดเหมือนเดิม ใช้กับผู้ป่วยฮีโมฟิเลีย สามารถนำไปใช้รักษาเองที่บ้าน เก็บไว้ได้นาน 1 ปี

13. พลาสมาแห้ง (Dried Cryo-Removed Plasma: DCRP) มีคุณสมบัติเหมือนพลาสมาธรรมดา เตรียมด้วยการทำ CRP มาถ่ายลงขวดที่ปราศจากเชื้อ นำไปผ่านขั้นตอนการทำให้แห้ง ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลีย บี สามารถนำไปใช้รักษาเองได้ที่บ้าน เก็บได้นาน 3 ปี

14. ไครโอปรีซิฟิเตทชนิดแห้งที่ผ่านความร้อน (Heat treated Freeze Dried Cryoprecipitate: HTFDC) นำไครโอปรีซิฟิเตทมาลงขวดทำให้แห้ง นำไปฆ่าเชื้อไวรัสด้วยความร้อนใช้สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลีย เอ และผู้ป่วยที่ขาดไฟบริโนเจน


อ่านมาถึงข้อ 14 กันแล้ว เลือดช่างสารพัดประโยชน์จริงๆ แต่ยังไม่หมดคะ โปรดติดตามโพสต์ถัดไปคะ ^/\^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น