วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion) 2

สวัสดีคะ ^/\^

โพสต์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงส่วนประกอบของโลหิต นึกไม่ถึงว่าโลหิตจะมีส่วนประกอบมากมายขนาดนี้ โพสต์ครั้งนี้เรามาดูว่า "การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต" จะเป็นอย่างไรท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ


การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต (Blood Components and Blood Products)

1. โลหิตรวม (Whole Blood) ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต เช่น อุบัติเหตุ โลหิตออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ การผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

2. โลหิตรวมที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำมาก (Leukodepleted Whole Blood: LDWB) ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต

3. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น (Packed Red Cells: PRC) เตรียมโดยการปั่นแยกเอาพลาสมาจากโลหิตทั้งหมด เหลือแต่เม็ดโลหิตแดง ใช้สำหรับการถ่ายโลหิตและใช้ในการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหัวใจ โลหิตจาง และในภาวะคนป่วยที่ซีดมาก เช่น โรคกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือด ธาลัสซิเมีย เป็นต้น

4. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำมาก (Leukodepleted Packed Red Cells: LDPRC) ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ ใช้ในการผ่าตัดภาวะซีดบางโรค เป็นต้น

5. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำ (Leukocyte-Poor Packed Red Cells: LPRC) เตรียมโดยการใช้เครื่องบีบอัตโนมัติแยกเม็ดโลหิตขาวออก ใช้สำหรับผู้ปวยที่มีอาการแพ้เม็ดโลหิตขาว และผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดบ่อยๆ ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดใช้ในการผ่าตัด ภาวะซีดบางโรค เป็นต้น

6. เกล็ดโลหิตเข้มข้น (Plateler Concentrates: PC) ได้จากการปั่นแยกจากโลหิตรวม รักษาผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ เช่น ไข้เลือดออก, เลือดออกในสมอง, เกล็ดเลือดไม่ทำงาน, คนไข้ไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

7. เกล็ดโลหิตเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำ (Leukoctr-Poor Platelet Concentrate: LPPC) สามารถลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ ใช้กับผู้ป่วยที่เกล็ดโลหิตผิดปกติ


โพสต์ครั้งนี้เกริ่นไว้ 7 ข้อก่อน โพสต์ถัดไปจะกลาวถึง 7 ข้อถัดไปโปรดติดตามคะ ^/\^

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

Facebook ของคุณเป็น https หรือยัง?

สวัสดีคะ ^/\^

ผู้ที่ทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตจะคุ้นกับ https กันดี เพราะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้นและจะมีสัญลักษณ์แม่กุญแจด้วย การเข้าบัญชี Email เดียวนี้ก็เป็น https กันแล้ว (หากไม่เชื่อลองสังเกตก่อนคลิกปุ่มเข้าใช้นะคะ) รวมถึง Facebook ด้วย ไม่ทราบว่า Facebook ของท่านเป็น https หรือยังคะ?

ความหมายคำ

     HTTP (HyperText Transfer Protocol) เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

     HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure) เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติแบบมั่นคง เป็นการผสม Hypertext Transfer Protocol เข้ากับโพรโทคอล SSL/TLS เพื่อสร้างการสื่อสารแบบเข้ารหัส และความสามารถในการระบุเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าปลอดภัย การเชื่อมต่อแบบ HTTPS มักใช้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนเว็บ และการทำธุรกรรมที่ต้องรักษาเป็นของลับในระบบสารสนเทศของบริษัท

     SSL หรือ TLS Transport Layer Security (TLS) หรือชื่อเดิม Secure Sockets Layer (SSL) เป็นโพรโทคอลที่ใช้เข้ารหัสข้อมูลที่ส่งในอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเพจ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมสนทนา และอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูล มีข้อแตกต่างในรายละเอียดทางเทคนิคระหว่าง SSL 3.0 และ TLS 1.0 เพียงเล็กน้อย ดังนั้นตัวย่อ SSL จะหมายถึงโพรโทคอลทั้งคู่ ในกรณีที่ไม่ระบุว่าตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้ง SSL และ TLS เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority)

ขั้นตอนการทำให้ Facebook เป็น https

1. หลังจาก Log in เข้า Facebook แล้ว, คลิกรูปเฟือง (Setting), คลิกตั้งค่าบัญชีผู้ใช้

2. คลิกหัวข้อความปลอดภัย, คลิกแก้ไขที่เรียกดูแบบปลอดภัย, คลิกถูกที่เรียกดู Facebook บนการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย (https) เมื่อสามารถทำได้

3. คลิกบันทึกการเปลี่ยนแปลง

เพียงเท่านี้ Facebook ของคุณก็ปลอดภัยมากขึ้นด้วย https แล้วคะ? ^/\^

ขอขอบคุณ
  • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA
  • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5
  • http://th.wikipedia.org/wiki/SSL
  • http://www.boarddev.com/forum/index.php?topic=3654.0

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion) 1

สวัสดีคะ ^/\^

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าว่าโลหิตที่ได้รับการบริจาค 1 ถุงจะนำไปแยกส่วน เพื่อสามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโพสต์ "โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion)" คะ


ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การใช้โลหิตที่แยกส่วน (Blood Components Transfusion) เป็นการรักษาที่ดีที่สุด หากว่าผู้ป่วยขาดเพียงส่วนประกอบใดส่วนหนึ่งของโลหิตเท่านั้น โลหิตที่ได้รับการบริจาค 1 ยูนิต (1 ถุง) สามารถนำไปปั่นแยกส่วนประกอบต่างๆ การนำโลหิตมาแยกส่วนประกอบนั้นเป็นการใช้โลหิตที่เหมาะสม และใช้ได้ตรงตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ที่บริจาคโลหิตแต่ละครั้งท่านสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากกว่า 1 คน


ส่วนประกอบโลหิต (Blood Components) แยกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้

1. พลาสมา (Plasma) มีส่วนประกอบดังนี้
     1.1 โปรตีน (Protein) ส่วนของโปรตีนประกอบด้วย อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulins), แอลบูมิน (Albumin)
     1.2 แฟคเตอร์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม (Coltting Factors) มีส่วนประกอบดังนี้
          - ไฟบริโนเจน (Fibrinogen)
          - แฟคเตอร์ 5,8 โปรทรอมบินคอมเพล็กซ์ แฟคเตอร์ 2,7,9,10

2. บัพฟีโคท (Buffy coat) มีส่วนประกอบดังนี้
     2.1 เกล็ดโลหิต (Platelets)
     2.2 เม็ดโลหิตขาว (White Blood Cells)

3. เม็ดโลหิตแดง (Red Blood Cells)


แค่ส่วนประกอบโลหิตนี้ก็แตกต่างจากสมัยที่ดิฉันเรียนมัธยมแล้ว ในตอนนั้นมีเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว, เกล็ดเลือด ส่วนพลาสมามีรึเปล่านั้นจำไม่ได้ (ฮา) ^v^" และก็ไม่ได้ลงรายละเอียดแบบนี้หรอกคะ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าคะ โพสต์ต่อไปคือ "การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต" โปรดติดตามคะ ^/\^

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

Happy New Year 2556/ 2013

สวัสดีปีใหม่คะ คงยังไม่ช้าเกินไปที่จะเอ่ยนะคะ ^/\^

ผ่านวันสิ้นโลกมาแล้วตอนนี้โลกเราก็ยังสงบสุข และทำให้ได้รับรู้ว่ามีความเชื่อต่างๆ หลายแขนงเกี่ยวกับวันสิ้นโลกนี้ ซึ่งดิฉันได้อ่านบทความ "หลังปี 2012 มีคำทำนายโลกแตก... ปีไหนอีกบ้าง?" ของคุณบัญชา ธนบุญสมบัติ ทำให้ทราบว่าคำทำนายเกี่ยวกับวันสิ้นโลกมีมานานแล้วก่อนที่เราจะเกิดเสียอีก

http://manyendings.com เป็นเว็บไซต์ที่คุณบัญชา ให้ดูขำๆ (เพราะไม่เกิดขึ้นจริง) ว่าเราจะคงอยู่กับประเด็นนี้ไปอีกนานถึง 4,500,000,000 ปี (สี่พันห้าร้อยล้าน) หรือจนกว่าจะถึงวันสิ้นโลกจริงๆ (ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์มีการคาดการณ์ไว้เช่นกัน)

กลุ่มที่อ้างปฏิทินมายาจะบอกว่าวันสิ้นโลกจริงๆ มันอีก 100 ปี คือ ค.ศ.2112 ใครที่ทันค.ศ.2000 ที่อ้างคำทำนายของนอสตราดามุสก็จะนำมาอ้างอีกว่าวันสิ้นโลกเป็นปี 3420, 3797 อาทิ กลุ่มที่อ้างความเชื่อทางศาสนาซึ่งอาจจะเป็นกุศโลบายให้คนทำความดี กลุ่มที่อ้างถึงมนุษย์ต่างดาวและกลุ่มอื่นๆ อีกมากมาย

แนววิทยาศาสตร์ก็มีการพูดถึงวันสิ้นโลกโดยเริ่มจากดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่ขึ้นราว 250 เท่าของปัจจุบันเป็นดาวยักษ์แดง (red giant) จนกลืนดาวพุธและศุกร์ไป ส่วนโลกถ้าไม่ถูกกลืนก็จะร้อนจนน้ำระเหยไปหมดและสิ่งมีชีวิตบนโลกตายเรียบ แต่นี่คือเหตุการณ์ในปี 4,500 ล้าน

อีกกรณีหนึ่งที่จะก่อให้เกิดหายนะคือ ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางขนาดใหญ่มาชนโลกช่วงเวลาไม่แน่นอน ซึ่งมีประมาณไว้ว่ามีดาวเคราะห์น้อยระดับอันตรายราว 700 ลูกในระบบสุริยะ และเป็นไปได้ว่าจะมีลูกหนึ่งคุกคามโลกในระดับอันตรายภายใน 200,000 ปีข้างหน้า ประเด็นนี้จะมีข่าวออกมาให้ตื่นเต้นเป็นระยะ ซึ่งคลายกังวลได้เพราะมีองค์การและโครงการต่างๆ เฝ้าจับตาดูอยู่

ส่วนอีกเรื่องที่ใกล้ตัวและเราสามารถจัดการได้คือ "โลกร้อน" คาดการณ์กันว่าหากโลกร้อนยังคงเดินหน้าต่อไปจนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงเพิ่มขึ้น 4 องศา ก็จะทำให้แม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากธารน้ำแข็ง (เช่น แม่น้ำคงคา) ก็จะเริ่มเหือดแห้ง ถ้าสูงเพิ่มขึ้น 5 องศา ระดับน้ำทะลจะสูงขึ้นจนเมืองแถบชายฝั่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมเมื่อมีพายุหมุนเขตร้อนซัดเข้ามา และถ้าสูงถึง 6 องศาเซลเซียล สิ่งมีชีวิตบนโลกหลายสปีชีส์ก็จะถึงคราวสูญพันธุ์

ตอนนี้ทุกท่านควรวิตกกังวลเรื่องไหนมากกว่ากันคะ สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
  • บัญชา ธนบุญสมบัติ. (2555, 15 ธันวาคม). EventHorizon: หลังปี 2012 มีคำทำนายโลกแตก... ปีไหนอีกบ้าง?. กรุงเทพธุรกิจ เสาร์สวัสดี, หน้า 6
  • กรณีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกสามารถติดตามได้ที่ Near Earth Object Program ของ NASA ที่ http://neo.jpl.nasa.gov และ Asteroid and Comet Impact Hazards ที่ http://impact.arc.nasa.gov
  • กรณีโลกร้อน 6 องศา ขอแนะนำเอกสารง่ายๆ สำหรับเด็ก เรื่อง Degrees of Change Conservation in My Community จัดทำโดย National Geographic ที่ http://nationalgeographic.com/xpeditions/lessons/14/g68/SixDegrees.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตอน 2 จบ

สวัสดีปีใหม่คะ ^/\^

หวังว่ายังไม่ช้าเกินไปที่จะกล่าวทักทายนะคะ เข้าเรื่องกันเลย โพตส์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงวัคซีน และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากพลาสมาของม้าและของคน ซึ่งเซรุ่มที่ผลิตจากพลาสมของคนมีประสิทธิภาพสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าหรือแทบจะไม่มีเลย และผู้ที่บริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอสามารถเข้าร่วมโครงการได้คะ ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ

"ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกท่าน"

การผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากพลาสมา
     ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เริ่มดำเนินโครงการผลิตเซรุ่งป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (HRIG) นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2530 ตามโครงการร่วมือระหว่างศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และกองวิทยาศาสตร์ (ปัจจุบันคือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย) เนื่องจากในสมัยนั้นเซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากจนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาที่แพงมาก ในการผลิตจะนำพลาสมาที่ได้รับบริจาคมาจากอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริจาคมีระดับภูมิคุ้มกันสูงอย่างเพียงพอ

     แต่ที่ผ่านมา มีอาสามัครเข้าร่วมโครงการจำนวนน้อยมาก ไม่สามารถเตรียมผลิตภัณฑ์ได้ตามเป้าหมาย เกิดการขาดช่วงเป็นเวลานานไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งมีบริษัทที่ผลิตน้อยราย เซรุ่มจึงมีราคาแพงมากประมาณ 7,000-8,000 บาท เมื่อเทียบกับเซรุ่มที่ผลิตได้ในประเทศที่มีราคาเพียง 1,200 บาทเท่านั้น เพราะมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าและยังมีมาตรฐานการผลิตทัดเทียมกับต่างประเทศ

รับบริจาคพลาสมา มาผลิตเซรุ่ม
     ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนพลาสมาที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปีพ.ศ.2552 เป็นต้นไป ตั้งเป้าจัดหาพลาสมาให้ได้ 3,000 ยูนิต/ปี และรับอาสาสมัครบริจาคพลาสมาจำนวนมากว่า 1,000 ราย

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     1. อายุระหว่าง 18-60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็ฯการบริจาคครั้งแรกอายุไม่ควรมากกว่า 50 ปี
     2. น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
     3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
     4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
     5. เป็นผู้บริจาคโลหิตที่มาบริจาคสม่ำเสมอทุก 3 เดือน หรือบริจาคโลหิตติดต่อกันอย่างน้อย 4 ครั้ง
     6. มีเส้นเลือดที่บริเวณข้อพับแขนทั้ง 2 ข้างมองเห็นชัด
     7. สามารถมาบริจาคพลาสมาได้ทุก 14 วัน และต้องงดการบริจาคโลหิตทั่วไป
     8. อาาสาสมัครต้องอยู่ในโครงการอย่างน้อย 3 ปี

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เปิดทำการ
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 08.00-16.30น.
วันอังคารและพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 07.30-19.30น.
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์  เวลา 08.30-15.30น.
www.redcross.or.th
www.blooddonationthai.com
E-mail: blood@redcross.or.thโทรศัพท์ 0-2263-9600-99, 0-2251-3111 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761


หากท่านใดต้องการอ่านย้อนหลังสามารถคลิกที่ "บทความน่าอ่าน" ทางซ้ายมือคะ ดิฉันขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยคะ ส่วนโพตส์ต่อไปนั้นเป็นอะไรโปรดติดตาม สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
"การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย