ก่อนที่จะไปโพสต์ "การรับบริจาคพลาสมาเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า" หลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาว่า "ก่อนบริจาคโลหิตร่างกายก็ปกติดี หลังจากบริจาคโลหิตแล้วเป็นโลหิตจาง" ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาโพตส์ "ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต" ไปค้นหาคำตอบกันคะ
ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต
การบริจาคโลหิตเป็นการนำโลหิตออกจากร่างกายโดยเจาะออกทางเส้นโลหิตดำครั้งหนึ่งๆ ประมาณ 350-450 มิลลิลิตร (ซีซี.) หรือประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณโลหิตในร่างกาย การเอาโลหิตออกจากร่างกายในปริมาณดังกล่าวไม่เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายแต่กลับช่วยกระตุ้นให้ไขกระดูกทำงานได้ดีขึ้น ในทำนองเดียวกับการออกกำลังกายที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาดีขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น แต่ทั้งนี้หมายถึงการบริจาคโลหิตที่ไม่บ่อยเกินเกณฑ์คือทุก 3 เดือน และรักษาสมดุลให้อัตราการสร้างใหม่ทดแทนเท่ากับที่เสียไป โดยเฉพาะวัตถุดิบคือธาตุเหล็กมิฉะนั้นอาจเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้
โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก
เมื่อร่างกายต้องสูญเสียโลหิตไปเป็นปริมาณมากๆ เช่น ผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร ได้รับอุบัติเหตุเสียโลหิตมาก สตรีมีประจำเดือนมากผิดปกติ (ปกติประมาณ 60-80 มิลลิลิตร/เดือน) รวมไปถึงการบริจาคโลหิต (ครั้งละ 350-450 ม.ล.) แผลในกระเพาะอาหารที่มีโลหิตออก ริดสีดวงทวารที่มีโลหิตออกเรื้อรัง หรือมีพยาธิปากขอในลำไส้ เป็นต้น ในภาวะเหล่านี้ร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กมากกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไขจะนำไปสู่การเกิดภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียธาตุเหล็ก
กีวี่ฟรุ๊ต (ไดเจสเท็น-เค) ผลกีวีนิวซีแลนด์สกัด |
ธาตุเหล็กสำคัญต่อการสร้างโลหิต
โภชนาการของท่านในวันนี้อาจจะไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอที่จะเป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณภาพได้ เพราะเหตุว่าท่านอาจได้รับธาตุเหล็กจากอาหารยังไม่เพียงพอ โปรดสำรวจดูว่าท่านได้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมที่จะเป็นผู้บริจาคประจำในระยะยาวได้หรือไม่ โดยไม่ประสบปัญหาเกิดภาวะขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางเสียก่อนและจะปฏิบัตัวอย่งไรจึงจะดี ร้อยละ 70 ของธาตุเหล็กในร่างกายอยู่ในเม็ดโลหิตแดงในรูปที่เรียกว่า ฮีโมโกบิน เมื่อเม็ดโลหิตแดงมีอายุประมาณ 120 วันก็จะสลายไป ส่วนธาตุเหล็กที่ออกจากเม็ดโลหิตแดงจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเก็บสะสมไว้ภายในร่างกายถึงร้อยละ 97
อาหารที่มีธาตุเหล็ก
โดยปกติร่างกายได้รับธาตุเหล็กทางเดียวเท่านั้นคือจากอาหารที่รับประทาน โดยลำไส้จะดูดซึมธาตุเหล็กได้ประมาณ 1 และ 1.5 มิลลิกรัมในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ และจะดูดซึมได้เพิ่มขึ้นในภาวะร่างกายขาดธาตุเหล็กแต่จะไม่เกิน 3-4 มิลลิกรัม/กรัม
ธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ เลือด เครื่องในและไข่ และชนิดที่พบอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ ธัญพืช (ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวฝ่าง ฯลฯ) และถั่วต่างๆ สารอาหารที่มีธาตุเหล็ก อาทิ ผักใบเขียว ผักหวานสวน มะเขือพวง งาขาว งาดำ ซึ่งพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ปริมาณธาตุเหล็กที่มีอยู่ในร่างกาย วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ รวมถึงภาวะที่สูญเสียโลหิตและโลหิตจาง
"ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต" ยังไม่จบคะ สามารถติดตามได้ในโพสต์ถัดไป สวัสดีคะ ^/\^
ขอขอบคุณ
"ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น