วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต

สวัสดีคะ ^/\^

ในครั้งที่แล้วได้กล่าว ส่วนประกอบของโลหิตและประโยชน์จากการบริจาคโลหิต อ่านแล้วได้ทั้งบุญและประโยช์ต่อหัวใจมากอยากบริจาคโลหิตกันแล้วใช่่ไหมคะ เพียงท่านประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิตเพื่อคำนึงถึงโลหิตที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่อาจจะได้รับโลหิตที่มีเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว และตรวจด้วยน้ำยาไม่พบ และเป็นการทบทวนว่าผู้บริจาคมีสุขภาพที่ดีพร้อมบริจาคโลหิตหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริจาคเองคะ

"Safe Blood Starts With Me - โลหิตคุณภาพดีเริ่มจากตัวท่าน"

1. อายุ 17-70 ปี สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
     การรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคที่มีอายุ 17 ปี กฎหมายไม่อนุญาตให้ตัดสินใจได้เองต้องมีหนังสือรับรองยืนยันให้สามารถบริจาคโลหิตจากผู้ปกครอง
      ส่วนผู้บริจาคโลหิตที่มีอายุตั้งแต่ 61-70 ปีต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม โดยแพทย์ธนาคารเลือกหรือหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต ในวันเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์ (เวลา 08.00-12.00น.) บริจาคโลหิตครั้งแรกต้องมีกายุไม่เกิน 55 ปี

2. สุขภาพสมบูรณ์และพักผ่อนเพียงพอ
โอเมก้า 3 ดีเอชเอ น้ำมันปลา 1000 มิลลิกรัม
     ควรนอนพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง แต่ถ้าการนอนนั้นไม่เป็นปกติและเพียงพอต่อร่างกายโดยไม่มีการอ่อนเพลียใดๆ สุขภาพพร้อมในวันที่บริจาคโลหิตก็พิจารณาให้บริจาคโลหิตได้

3. รับประทานอาหารประจำมื้อเรียบร้อยแล้ว
     ก่อนบริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารมาให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรเป็นอาหารที่มีไขมัน เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เป็นต้น

ข้อแนะนำ ควรงดอาหารที่มันๆ ก่อนบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมงจะเป็นการดี

4. คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
     การคลิดบุตรหรือแท้งบุตรจะมีการเสียเลือดเป็นจำนวนมากต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้มีการสร้างเม็ดโลหิตแดงที่มีคุณภาพขึ้นมาใหม่ และเพื่อให้ร่างกายมีการพักฟื้นที่ดีจึงควรงดบริจาค 6 เดือน และที่อยุ่ในระยะให้นมบุตร เนื่องจากน้ำนมผลิตขึ้นมาจากสารอาหาร การเสียโลหิตในการบริจาคอาจทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไปได้
     ส่วนการตั้งครรภ์ มารดาควรเก็บโลหิตของตนเองเอาไว้เพื่อเลี้ยงบุตรในครรภ์และเป็นโลหิตสำรองในร่างกายเมื่อตอนคลอด ควรงดบริจาคชั่วคราว

5. ท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วัน
     การที่ผู้บริจาคโลหิตท้องเสีย ท้องร่วงจะมีผลทำให้ผู้บริจาคมีอาการป่วยและอ่อนเพลียมากขึ้นได้ ส่วนผู้รับบริจาคโลหิตอาจพลอยได้รับเชื้อที่ส่งผ่านมากับโลหิต

อีก 15 ข้อที่เหลือจะทยอยโพตส์ต่อไปคะ ^/\^

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ขอขอบคุณ
"20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น