วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า ตอน 1

สวัสดีคะ ^/\^

มาตามคำสัญญาแล้ว เข้าเรื่องกันเลยคะ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยนอกจากรับบริจาคโลหิตแล้ว ยังรับบริจาคพลาสมาเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้าด้วย ซึ่งผู้อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการนี้ยังมีจำนวนน้อย ดิฉันจึงถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ หากท่านใดที่บริจาคโลหิตอยู่เป็นนิตย์เชิญลองมาบริจาคพลาสมาก็ได้กุศลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคะ

"ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกท่าน"

ทำไมต้องมีการบริจาคพลาสมาเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
     เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำเป็นโรคร้ายแรงมาก ปัจจุบันยังไม่มียาอะไรที่จะรักษาได้เมื่อเป็นแล้ว ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกราย จากข้อมูลควบคุมโรคกระทรวงสาธารณถสุขรายงานว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าปีละประมาณ 20 ราย ในช่วงปี 2547-2550 ยังคงมีผู้ที่ถูกสุนัขกัดเพิ่มมากขึ้นและเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 3 แสนคน เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท สาเหตุของโรคเกิดจากไวรัสเรบี่ส์ (Rabies virus) ในสัตว์พาหะนำโรค ได้แก่ สัตว์เลี้ยง (สุนัข แมว ฯลฯ) สัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ

     การติดต่อของโรคเกิดจากเชื้อไวรัสออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อและเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผลที่สัตว์กัดหรือข่วน เพราะฉะนั้นหนทางที่ดีที่สุดในการป้องกันและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไป คือ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย

การสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้า
     การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าทำได้ 2 วิธี คือ
     1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ที่ถูกสุนัขกัดและสงสัยว่าสุนัขนั้นบ้าหรือไม่ จะต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อน เพราะวัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันซึ่งจะทใช้ระยะเวลาประมาณ 14 วัน

     2. การฉีดเซรุ่มป้อนกันโรคพิษสุนัขบ้า จะฉีดในร่ายที่ถูกสุนัขกัดอย่างรุนแรงจนมีบาดแผลฉกรรจ์ หรือใกล้บริเวณปลายประสาท เช่น ใบหน้า หน้าอก ปลายนิ้ว ถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีนภายหลังที่ถูกกัดแล้วก็อาจจะมีโอกาสเกิดโรคได้ เป็นการป้องกันโรคอีกขั้นตอนหนึ่ง

เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
     เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะมีสารโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในปริมาณที่มากและเป็นภูมิคุ้มกันที่สร้างไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้ เมื่อฉีดเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบริเวณรอบๆ แผลร่วมกับการฉีดวัคซีนเข็มแรกจะเกิดภูมิคุ้มกันต่อต้านกับเชื้อโรคในทันที จึงเป็นวิธีที่จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้ผลดีที่่สุด

     เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีอยู่ 2 ชนิด คือ เซรุ่มที่ผลิตจากพลาสมาของม้า และเซรุ่มที่ผลิตจากพลาสมาของคน เซรุ่มที่ผลิตจากพลาสมาของม้าเป็นสารโปรตีนจากสัตว์อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ต้องมีการทดสอบการแพ้ทางผิวหนังก่อนฉีด เมื่อเทียบกับเซรุ่มที่สกัดจากพลาสมาของคนจะเป็นเซรุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าหรือแทบจะไม่มีเลย


ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยคะ โปรดติดตามตอนที่  2 ซึ่งจะกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
"การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เปิดทำการ
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 08.00-16.30น.
วันอังคารและพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 07.30-19.30น.
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์  เวลา 08.30-15.30น.
www.redcross.or.th
www.blooddonationthai.com
E-mail: blood@redcross.or.thโทรศัพท์ 0-2263-9600-99, 0-2251-3111 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น