วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต (Foli-c) ตอน 2 จบ

สวัสดีคะ ^/\^

เพื่อการบริจาคโลหิตได้อย่างสม่ำเสมอ (ทุก 3 เดือน) ถึงอายุ 60 ปี ไม่ควรพลาดโพตส์ครั้งนี้และโพสต์ครั้งที่แล้ว (ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต (Foli-C) ตอน 1/2) ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ

ยาธาตุเหล็กสำหรับผู้บริจาคโลหิต
     โดยปกติร่างกายจะเสียธาตุเหล็กจาการหลุดลอกของเซลล์ผนังลำไส้และเซลล์อื่นๆ ไปเป็นปริมาณที่น้อยมาก คือประมาณ 1 มิลลิกรัม/วันในผู้ชาย และ 1.5 มิลลิกรัม/วันในผู้หญิง (เท่ากับที่ได้รับจากอาหาร) การมีประจำเดือนแต่ละเดือนผู้หญิงจะสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 30-40 มิลลิกรัม ส่วนการบริจาคโลหิตแต่ละครั้งจะเสียธาตุเหล็กประมาณ 150-200 มิลลิกรัม ซึ่งการสูญเสียธาตุเหล็กดังกล่าวจะสามารถป้องกันและแก้ไขได้

โททัล บาลานซ์ พลัส สารอาหารรวม 68 ชนิด
     จากการศึกษาในผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาติไทยพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 40 ของผู้ที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ทั้งๆ ที่อยากบริจาคและดูแข็งแรงดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงมีสภาวะโลหิตจางหรือความเข้มข้นของโลหิตไม่เพียงพอ เมื่อเจาะโลหิต 1 หยดจากปลายนิ้ว หยดลงไปในน้ำยาสีฟ้าซึ่งเป็นน้ำยาตรวจความเข้มข้นของโลหิต หยดโลหิตนั้นจะลอยอยู่หรือจมลงช้าๆ ซึ่งหมายความว่าความเข้มข้นของโลหิตน้อยกว่า 12.5 กรัม/ด.ล.ในผู้หญิง หรือน้อยกว่า 13 กรัม/ด.ล.ในผู้ชาย ถ้าความเข้มของโลหิตเพียงพอหยดโลหิตจะจมลงไปทันที

     สำหรับผู้บริจาคโลหิตทุกท่าน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะจัดยาเม็ดธาตุเหล็ก “โฟลิ-ซี (Foli-C)” ให้กับผู้บริจาคโลหิตทุกท่านจำนวน 50 เม็ด รับประทานวันละ 1 เม็ดก่อนนอน การรับประทานยานี้อาจมีอุจจาระสีดำเพราะธาตุเหล็กส่วนใหญ่ไม่ถูกดูดซึมและทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนและกรดในกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงขอเน้นให้ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านกินยาเม็ดธาตุเหล็กที่มอบให้ไปจนหมด

     ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสภาวะความสมดุลของร่างกายให้สามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือนตลอดไปจนถึงอายุ 60 ปี ผู้บริจาคโลหิตจึงควรบริจาคโลหิตในขณะที่รู้สึกว่าร่างกายของตนสมบูรณ์เท่านั้น ไม่ควรฝืนใจบริจาคโลหิตทั้งๆ ที่รู้สึกว่าร่างกายของตนไม่ปกติ หลังจากบริจาคโลหิตแล้วควรรับประทานอาหารให้ถูกส่วนและที่มีธาตุเหล็กสูง หากท่านได้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น ท่านจะไม่เกิดภาวะโลหิตจางอย่างแน่นอน โลหิตของท่านจะมีความเข้มข้นเพียงพอทุกครั้งที่มาบริจาคโลหิต โลหิตในร่างกายมีโลหิตใหม่ที่มีคุณภาพหมุนเวียนทดแทนโลหิตเก่าที่ออกไปส่งผลให้เป็นผู้มีผิวพรรณสดใส ไม่อ่อนเพลีย มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงดีตลอดไป

เมื่อทราบต้นสายปลายเหตุกันแล้วดิฉันเชื่อว่าหลายท่านเบาใจ หรือหมดข้อกังขาไปเปลาะหนึ่ง ซึ่งการบริจาคโลหิตเป็นการทำทานบารมีขั้นสูงสุด (ทานปรมัตถบารมี) ดิฉันขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยคะ

โปรดติดตามโพตส์ลำดับถัดไปหากไม่มีสิ่งใดแทรกก็จะเป็นโพตส์ "การรับบริจาคพลาสมาเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า" คะ สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
"ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น