วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell) 3/3

สวัสดีคะ ^/\^ โพสต์ที่แล้วได้กล่าวถึงขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตกันไปแล้ว โพสต์นี้กล่าวถึงวิธีการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตคะ

การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทำได้ 2 วิธีดังนี้

1. บริจาคทางหลอดโลหิตดำ
     ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการแยกเก็บเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เพราะในกระแสโลหิตจะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตอยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G-CSF (ยาฮอร์โมน) เป็นเวลา 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตมากระจายในกระแสโลหิตให้มากพอจึงจะเข้ากระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ซึ่งคล้ายกับวิธีการเก็บเกล็ดโลหิตหรือน้ำเหลือง (Plasma) โดยแทงเข้มที่หลอดโลหิตดำบริเวณข้อพับแขน (Vein) ให้โลหิตไหลเข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉาพเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทั้งนี้จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วย

2. บริจาคทางไขกระดูก
     เป็นกระบวนการเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากโพรงไขกระดูก โดยใช้เข็มเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง กระบวนการนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึงกระบวนการเจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้หลังจากที่ได้เจาะเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตเรียบร้อยแล้ว โดยผู้บริจาคจะต้องนอนพักที่โรงพยาบาลหนึ่งคืน ทั้งนี้ ร่างกายสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตขึ้นมาทดแทนได้อย่ารวดเร็ว ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้นและควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5-7 วัน


"ขึ้นชื่อว่ากาชาดก็เป็นที่รู้กันดีว่า หมายถึงผู้ช่วยด้วยเมตตา ด้วยกรุณาอย่างยิ่งต่อทุกชีวิต ไม่เลือกชาติ ศาสนา หรือฐานะจะยากจนมีดีชั่วอย่างไร กาชาดมิใส่ใจ ช่วยได้เพียงไรกาชาดก็จะช่วย นับเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ผู้ร่วมงานด้วยจิตใจเป็นบุญเช่นนี้ ควรได้รับอนุโมทนาสาธุการอย่างยิ่ง" 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตเป็นการบำเพ็ญ "อุปบารมีทาน" ซึ่งเป็นทานบารมีที่เหนือกว่าการให้ทานทรัพย์สมบัติใดๆ เช่นเดียวกับการบริจาคโลหิตนั้นก็อาจเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ประสบโรคร้ายดังที่กล่าวมาในตอนต้นๆ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตก็จะมีชีวิตใหม่ที่แข็งแรง โรคทางโลหิตบางชนิดหายขาด บางชนิดก็ดีขึ้นกว่าเดิม นอกจากจะเป็นการทำให้ผู้บริจาคเกิดความสุขใจแล้วยังเป้นการทำให้ผู้รับอยากที่จะเป็นผู้ให้แก่ผู้เดือดร้อนต่อไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
  • "ปฏิบัติการตามหาคนพิเศษ" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย 
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
โทรศัพท์ 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1771, 1761
www.stemcellthairedcross.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น