วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion) 1

สวัสดีคะ ^/\^

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าว่าโลหิตที่ได้รับการบริจาค 1 ถุงจะนำไปแยกส่วน เพื่อสามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของโพสต์ "โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion)" คะ


ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า การใช้โลหิตที่แยกส่วน (Blood Components Transfusion) เป็นการรักษาที่ดีที่สุด หากว่าผู้ป่วยขาดเพียงส่วนประกอบใดส่วนหนึ่งของโลหิตเท่านั้น โลหิตที่ได้รับการบริจาค 1 ยูนิต (1 ถุง) สามารถนำไปปั่นแยกส่วนประกอบต่างๆ การนำโลหิตมาแยกส่วนประกอบนั้นเป็นการใช้โลหิตที่เหมาะสม และใช้ได้ตรงตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ที่บริจาคโลหิตแต่ละครั้งท่านสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากกว่า 1 คน


ส่วนประกอบโลหิต (Blood Components) แยกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้

1. พลาสมา (Plasma) มีส่วนประกอบดังนี้
     1.1 โปรตีน (Protein) ส่วนของโปรตีนประกอบด้วย อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulins), แอลบูมิน (Albumin)
     1.2 แฟคเตอร์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม (Coltting Factors) มีส่วนประกอบดังนี้
          - ไฟบริโนเจน (Fibrinogen)
          - แฟคเตอร์ 5,8 โปรทรอมบินคอมเพล็กซ์ แฟคเตอร์ 2,7,9,10

2. บัพฟีโคท (Buffy coat) มีส่วนประกอบดังนี้
     2.1 เกล็ดโลหิต (Platelets)
     2.2 เม็ดโลหิตขาว (White Blood Cells)

3. เม็ดโลหิตแดง (Red Blood Cells)


แค่ส่วนประกอบโลหิตนี้ก็แตกต่างจากสมัยที่ดิฉันเรียนมัธยมแล้ว ในตอนนั้นมีเม็ดเลือดแดง, เม็ดเลือดขาว, เกล็ดเลือด ส่วนพลาสมามีรึเปล่านั้นจำไม่ได้ (ฮา) ^v^" และก็ไม่ได้ลงรายละเอียดแบบนี้หรอกคะ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าคะ โพสต์ต่อไปคือ "การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต" โปรดติดตามคะ ^/\^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น