วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ตอน 2 จบ

สวัสดีปีใหม่คะ ^/\^

หวังว่ายังไม่ช้าเกินไปที่จะกล่าวทักทายนะคะ เข้าเรื่องกันเลย โพตส์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงวัคซีน และเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากพลาสมาของม้าและของคน ซึ่งเซรุ่มที่ผลิตจากพลาสมของคนมีประสิทธิภาพสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าหรือแทบจะไม่มีเลย และผู้ที่บริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอสามารถเข้าร่วมโครงการได้คะ ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ

"ผู้เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกท่าน"

การผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากพลาสมา
     ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เริ่มดำเนินโครงการผลิตเซรุ่งป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (HRIG) นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2530 ตามโครงการร่วมือระหว่างศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และกองวิทยาศาสตร์ (ปัจจุบันคือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย) เนื่องจากในสมัยนั้นเซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากจนต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศในราคาที่แพงมาก ในการผลิตจะนำพลาสมาที่ได้รับบริจาคมาจากอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริจาคมีระดับภูมิคุ้มกันสูงอย่างเพียงพอ

     แต่ที่ผ่านมา มีอาสามัครเข้าร่วมโครงการจำนวนน้อยมาก ไม่สามารถเตรียมผลิตภัณฑ์ได้ตามเป้าหมาย เกิดการขาดช่วงเป็นเวลานานไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งมีบริษัทที่ผลิตน้อยราย เซรุ่มจึงมีราคาแพงมากประมาณ 7,000-8,000 บาท เมื่อเทียบกับเซรุ่มที่ผลิตได้ในประเทศที่มีราคาเพียง 1,200 บาทเท่านั้น เพราะมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าและยังมีมาตรฐานการผลิตทัดเทียมกับต่างประเทศ

รับบริจาคพลาสมา มาผลิตเซรุ่ม
     ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนพลาสมาที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปีพ.ศ.2552 เป็นต้นไป ตั้งเป้าจัดหาพลาสมาให้ได้ 3,000 ยูนิต/ปี และรับอาสาสมัครบริจาคพลาสมาจำนวนมากว่า 1,000 ราย

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
     1. อายุระหว่าง 18-60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็ฯการบริจาคครั้งแรกอายุไม่ควรมากกว่า 50 ปี
     2. น้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
     3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
     4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
     5. เป็นผู้บริจาคโลหิตที่มาบริจาคสม่ำเสมอทุก 3 เดือน หรือบริจาคโลหิตติดต่อกันอย่างน้อย 4 ครั้ง
     6. มีเส้นเลือดที่บริเวณข้อพับแขนทั้ง 2 ข้างมองเห็นชัด
     7. สามารถมาบริจาคพลาสมาได้ทุก 14 วัน และต้องงดการบริจาคโลหิตทั่วไป
     8. อาาสาสมัครต้องอยู่ในโครงการอย่างน้อย 3 ปี

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เปิดทำการ
วันจันทร์ พุธ ศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 08.00-16.30น.
วันอังคารและพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน)  เวลา 07.30-19.30น.
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์  เวลา 08.30-15.30น.
www.redcross.or.th
www.blooddonationthai.com
E-mail: blood@redcross.or.thโทรศัพท์ 0-2263-9600-99, 0-2251-3111 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761


หากท่านใดต้องการอ่านย้อนหลังสามารถคลิกที่ "บทความน่าอ่าน" ทางซ้ายมือคะ ดิฉันขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยคะ ส่วนโพตส์ต่อไปนั้นเป็นอะไรโปรดติดตาม สวัสดีคะ ^/\^

ขอขอบคุณ
"การบริจาคพลาสมา เพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น