วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาหารเสริมบำรุงสมอง พร้อมต้านความเสี่ยงโรคหัวใจด้วย Coenzyme Q10

สวัสดีค่ะ ^/\^ โพสต์ที่แล้วได้ทำความรู้จักกับ "หัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด" ซึ่งสามารถมีหนทางรักษาให้หายได้ แต่เมื่อเราไม่อยากเป็นโรคหัวใจในวัยใกล้ฝั่งก็ควรป้องกันคะ

โอเมก้า 3 คิวเอช อัลตร้า
Omega 3/ QH ULTRA

อาหารเสริมบำรุงสมอง พร้อมต้านความเสี่ยงโรคหัวใจด้วย Coenzyme Q10
  • เสริมคุณค่าน้ำมันปลาสด บริสุทธิ์ ด้วยโคเอ็นไซม์ คิวเท็น บำรุงหัวใจ เสริมสร้างพลังงาน
  • พร้อมเสริมสุขภาพผิวด้วยไลโคปีนจากมะเขือเทศ ต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงสายตาด้วยแอสตาแซนธินจากสาหร่ายทะเล
  • ผสานน้ำมันปลาโฮกิและทูน่าเข้มข้น ต้านการอักเสบได้สูงถึง 2.5 เท่า พร้อม DHA สูงถึง 280 มก./ซอฟเจล
เลขที่อ.ย. 10-3-03548-1-0008
ขนาดบรรจุ: 30 ซอฟเจล
ขนาดรับประทาน:
     ๐ ผู้ใหญ่ (อายุ 12 ปีขึ้นไป) วันละ 2 ซอฟเจล (ครั้งละ 1 แคปซูล เช้าและเย็น พร้อมอาหาร)
     ๐ เด็ก (อายุต่ำกว่า 12 ปี) วันละ 1 ซอฟเจล พร้อมอาหาร  

เพิ่มเติม | สั่งซื้อ | Detail | Buy
โอเมก้า 3 คิวเอช อัลตร้า

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจจากปัจจัยเหล่านี้
    ๐ โคเลสเตอรอลสูง
    ๐ เหนื่อยล้าเรื้อรังเป็นประจำ
    ๐ รับประทานยาลดไขมันประเภท Statin

ขอแนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาโอเมก้า3/ DHA คิวเอช อัลตร้า ที่รวมเอาคุณค่าอันโดดเด่นทุกประการจากผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาโอเมก้า 3/ DHA Primium ผสานกับ Coenzyme Q10 ในรูปแบบ “ยูบิควินอล (Ubiquinol)” ที่เพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ผลิตภัณฑ์ น้ำมันปลาโอเมก้า3 / DHA คิวเอชอัลตร้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อันมีผลจากการมีโคเลสเตอรอลสูง

การเลือกส่วนผสม Ubiquinol ที่ผลิตจาก Kaneka ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักพัฒนา CoQ10 อันดับต้นๆของโลก

Ubiquinol คือ CoQ10 ในรูปแบบรีดิวซ์ (Reduced form) ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า Ubiquinone (CoQ10 รูปแบบทั่วไปในท้องตลาด) ถึง 6-8 เท่า

กราฟแสดงประสิทธิภาพของ CoQ10 ที่มีต่อผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

ในปี 1994 การศึกษาที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลี โดยการศึกษาจากผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 100 คน ที่ได้รับ CoQ10 รูปแบบทั่วไป (Ubiquinone) ในปริมาณ 50 ถึง 150 mg ของทุกวันเป็นเวลาสามเดือนพบว่า–

     ๐ อาการของโรคแทรกซ้อนลดลงเกือบ 80% ได้แก่ อาการบวมน้ำ (Edema) ลดลง 76.9%
     ๐ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) ลดลง 62%
     ๐ อัตราการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ (palpitations) ลดลง 75.7% และ
     ๐ เสียงแซมในปอดจากการหายใจ (Pulmonary rales) ลดลง 78.4%

การทดลองนี้เป็นการเสริมอาหารด้วย CoQ10 รูปแบบทั่วไป (Ubiquinone) ดังนั้นหากเสริมอาหารด้วย Ubiquinol ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า 6-8 เท่าอาจส่งผลดีต่อการลดโรคแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคหัวใจวายได้มากขึ้นอีก

รูปแสดงปริมาณ CoQ10 ในอวัยวะต่างๆในช่วงอายุต่างๆ

จากรูป เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ปริมาณ CoQ10 ในอวัยวะได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ CoQ10 ในหัวใจที่ลดลงกว่า 30%!

ความเสื่อมถอยของร่างกาย อันเกิดจากปริมาณ CoQ10 ที่ลดลงนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นในวัย 40 ปีขึ้นไป ควรอย่างยิ่งที่จะเสริมอาหารด้วย CoQ10 เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหัวใจ

ผู้ที่รับประทานยา Statin เพื่อลดไขมันในเลือด อาจมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากยากลุ่ม Statinนี้มีกลไกป้องกันการผลิตคอเลสเตอรอลที่ตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่มีส่วนสำคัญในการผลิต CoQ10 จึงทำให้ผู้ที่รับผู้ที่รับประทานยา Statin มีระดับของ CoQ10 ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทางการแพทย์ที่พบประโยชน์ของ Ubiquinol อื่นๆอีก เช่น การลดความเสี่ยงของการพัฒนาของกลุ่มโรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสันและช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงบรรเทาอาการไมเกรน

ผลิตภัณฑ์น้ำมันปลาโอเมก้า3 / DHA คิวเอชอัลตร้า นอกจากเป็นน้ำมันปลาที่สด บริสุทธิ์ รวมกับ Coenzyme Q10 แล้วยังประกอบไปด้วยส่วนผสมพิเศษของ Lyc-O-Mato® สารสกัดเชิงซ้อนไลโคปีนจากมะเขือเทศ และแอสตาแซนธินจากสาหร่ายทะเล ที่นอกจากจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แล้วยังช่วยบำรุงสมองไปพร้อมๆกับการบำรุงผิวและสายตาให้คุณแลดูอ่อนเยาว์อีกด้วย

ถึงแม้ว่าจะมีตัวช่วยที่ดีแล้ว ก็ควรออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยเพื่อหลีกหนีโรคภัยยามวัยใกล้ฝั่งให้พ้น สวัสดีค่ะ ^/\^

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทำความรู้จัก ‘หัวใจพิการแต่กำเนิด’ (Heart)

สวัสดีคะ ^/\^ หลายๆ ท่านคงจะรู้จักโรคหัวใจกันก็เมื่อมีอายุมากขึ้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด วันนี้เรามาทำความรู้จักกันคะ

     โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติในขั้นตอนการสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ มีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น การติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรืออาจเกิดจากการที่มารดาได้รับยาสารเสพติด หรือสารเคมีขณะตั้งครรภ์ นอกจากนั้นยังเกิดขึ้นได้กับทารกที่มีความผิดปกติของโครโมเซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์
     ส่วนมากอาจสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ แต่มักไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าทารกในครรภ์เป็นโรคหัวใจจนกว่าเด็กจะคลอกออกมา เนื่องจากการตรวจอัลตราซาวน์ยังไม่สามารถเข้าถึงหญิงตั้งครรภ์บางกลุ่ม

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.       ชนิดเขียว หรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นๆ ทำให้มีเลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย (ปกติแล้วเลือดดำจะไม่ปะปนกับเลือดแดง) ทำให้เด็กอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ผิวหนังจึงมีสีออกเขียวๆ ม่วงๆ ซึ่งจะเห็นชัดเจนขณะที่ร้องหรือดูดนม กลุ่มนี้มีความผิดปกติได้หลายแบบ และอาการค่อนข้างรุนแรง การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มนี้จะน้อยกว่าปกติมาก เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ

2.       ชนิดไม่เขียว หมายถึงผู้ที่มีความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด โดยไม่มีการผสมกันของเลือดดำและเลือดแดง กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้เกิดอาการเขียว โดยความผิดปกติที่พบอาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท (รั่ว) หรือเปิดไม่กว้างเท่าปกติ (ตีบ) หรือหลอดเลือดตีบเกินปกติ เป็นต้น อาการแสดงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
     
     ไม่มีอาการผิดปกติ ตรวจพบแต่เสียงหัวใจผิดปกติโดยบังเอิญ ได้แก่ เสียงฟู่ของหัวใจ
     อาการหัวใจวาย จากการที่หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น อาจเกิดจากปริมาณเลือดเกิน หรือความดันในห้องหัวใจเพิ่มสูงผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง หรืออาจพบจากทั้งสองสาเหตุร่วมกัน อาการที่พบได้แก่ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง ในเด็กเล็กมักดูดนมได้ครั้งละน้อยๆ หยุดพักบ่อย หายใจเร็ว น้ำหนักขึ้นช้า และตัวเล็กกว่าปกติ เป็นต้น
     เป็นลมหมดสติ ส่วนใหญ่อาการนี้พบในรายที่มีอากรตีบแคบอย่างรุนแรงของหลอดเลือดแดงในส่วนลิ้นหัวใจที่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองได้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาออกกำลังกาย

การวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
     ต้องอาศัยประวัติและอาการที่แสดงเป็นหลักร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ภาพถ่ายรังสีทรวงอกและหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้องความถี่สูง การตรวจสวนหัวใจ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น การตรวจดังกล่าวจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและสามารถให้การรักษาต่อไปได้

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ชนิดไม่เขียว)
     รักษาด้วยยา เป็นไปเพื่อการประคับประคองอาการก่อน ใช้ในผู้ป่วยที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มากและอาจมีโอกาสหายได้เอง เช่น ภาวะผนังหัวใจห้องล่างรั่ว หรือในร่ายที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดก็ยังคงต้องได้รับยาเพื่อควบคุมอาการ รวมไปถึงการรับยาเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม เป็นต้น
     การสวนหัวใจ รักษาโดยการใส่อุปกรณ์ผ่านการสวนหัวใจได้ เช่น ภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนหรือห้องล่างรั่ว ภาวะเส้นเลือดที่เชื่อมเส้นเลือดหัวใจไม่ปิด ในผู้ป่วยที่มีอาการตีบของลิ้นหัวใจหรือเล้นเลือดก็อาจทำการบอลลูนเพื่อขยายลิ้นหัวใจและเส้นเลือดได้
     การผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมากรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ผลของการผ่าตัดส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการผ่าตัดยังขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของหัวใจ รวมทั้งสภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

สบายใจกันได้นิดหน่อยที่ยังมีทางรักษานะคะ โพสต์ต่อไปเป็นเรื่องใดโปรดติดตาม สวัสดีคะ ^/\^

ขอบขอบคุณ
๐ ศ.นพ.กฤตยวิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล. (2556, 7 เมษายน). โทรโข่งสุจภาพทำความรู้จัก หัวใจพิการแต่กำเนิด. กายใจ กรุงเทพธุรกิจ, หน้า 10