วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทำความรู้จัก ‘หัวใจพิการแต่กำเนิด’ (Heart)

สวัสดีคะ ^/\^ หลายๆ ท่านคงจะรู้จักโรคหัวใจกันก็เมื่อมีอายุมากขึ้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด วันนี้เรามาทำความรู้จักกันคะ

     โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติในขั้นตอนการสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ มีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น การติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน หรืออาจเกิดจากการที่มารดาได้รับยาสารเสพติด หรือสารเคมีขณะตั้งครรภ์ นอกจากนั้นยังเกิดขึ้นได้กับทารกที่มีความผิดปกติของโครโมเซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์
     ส่วนมากอาจสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ แต่มักไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าทารกในครรภ์เป็นโรคหัวใจจนกว่าเด็กจะคลอกออกมา เนื่องจากการตรวจอัลตราซาวน์ยังไม่สามารถเข้าถึงหญิงตั้งครรภ์บางกลุ่ม

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1.       ชนิดเขียว หรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นๆ ทำให้มีเลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย (ปกติแล้วเลือดดำจะไม่ปะปนกับเลือดแดง) ทำให้เด็กอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ผิวหนังจึงมีสีออกเขียวๆ ม่วงๆ ซึ่งจะเห็นชัดเจนขณะที่ร้องหรือดูดนม กลุ่มนี้มีความผิดปกติได้หลายแบบ และอาการค่อนข้างรุนแรง การเจริญเติบโตของเด็กกลุ่มนี้จะน้อยกว่าปกติมาก เพราะเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายมีระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติ

2.       ชนิดไม่เขียว หมายถึงผู้ที่มีความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด โดยไม่มีการผสมกันของเลือดดำและเลือดแดง กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้เกิดอาการเขียว โดยความผิดปกติที่พบอาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท (รั่ว) หรือเปิดไม่กว้างเท่าปกติ (ตีบ) หรือหลอดเลือดตีบเกินปกติ เป็นต้น อาการแสดงของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียวแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
     
     ไม่มีอาการผิดปกติ ตรวจพบแต่เสียงหัวใจผิดปกติโดยบังเอิญ ได้แก่ เสียงฟู่ของหัวใจ
     อาการหัวใจวาย จากการที่หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น อาจเกิดจากปริมาณเลือดเกิน หรือความดันในห้องหัวใจเพิ่มสูงผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง หรืออาจพบจากทั้งสองสาเหตุร่วมกัน อาการที่พบได้แก่ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง ในเด็กเล็กมักดูดนมได้ครั้งละน้อยๆ หยุดพักบ่อย หายใจเร็ว น้ำหนักขึ้นช้า และตัวเล็กกว่าปกติ เป็นต้น
     เป็นลมหมดสติ ส่วนใหญ่อาการนี้พบในรายที่มีอากรตีบแคบอย่างรุนแรงของหลอดเลือดแดงในส่วนลิ้นหัวใจที่ไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองได้ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาออกกำลังกาย

การวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
     ต้องอาศัยประวัติและอาการที่แสดงเป็นหลักร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ภาพถ่ายรังสีทรวงอกและหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้องความถี่สูง การตรวจสวนหัวใจ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น การตรวจดังกล่าวจะทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคและสามารถให้การรักษาต่อไปได้

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ชนิดไม่เขียว)
     รักษาด้วยยา เป็นไปเพื่อการประคับประคองอาการก่อน ใช้ในผู้ป่วยที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มากและอาจมีโอกาสหายได้เอง เช่น ภาวะผนังหัวใจห้องล่างรั่ว หรือในร่ายที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดก็ยังคงต้องได้รับยาเพื่อควบคุมอาการ รวมไปถึงการรับยาเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม เป็นต้น
     การสวนหัวใจ รักษาโดยการใส่อุปกรณ์ผ่านการสวนหัวใจได้ เช่น ภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนหรือห้องล่างรั่ว ภาวะเส้นเลือดที่เชื่อมเส้นเลือดหัวใจไม่ปิด ในผู้ป่วยที่มีอาการตีบของลิ้นหัวใจหรือเล้นเลือดก็อาจทำการบอลลูนเพื่อขยายลิ้นหัวใจและเส้นเลือดได้
     การผ่าตัด ทำในรายที่เป็นมากรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ผลของการผ่าตัดส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการผ่าตัดยังขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของหัวใจ รวมทั้งสภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

สบายใจกันได้นิดหน่อยที่ยังมีทางรักษานะคะ โพสต์ต่อไปเป็นเรื่องใดโปรดติดตาม สวัสดีคะ ^/\^

ขอบขอบคุณ
๐ ศ.นพ.กฤตยวิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล. (2556, 7 เมษายน). โทรโข่งสุจภาพทำความรู้จัก หัวใจพิการแต่กำเนิด. กายใจ กรุงเทพธุรกิจ, หน้า 10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น