วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่าย VS การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์

สวัสดีคะ ^/\^ โพสต์ครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงการบริจาคดวงตาไปแล้ว โพสต์นี้จะกล่าวอีก 2 การบริจาคที่ถือว่าเป็นการทำทานบารมีขั้นสูงสุดจนวินาทีสุดท้าย นั่นคือการบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่ายและการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์

โดยโพสต์ครั้งนี้ขอนำการบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่ายและการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์มาเปรียบว่าให้เห็นความแตกต่างของการบริจาคทั้งสองอย่างกัน

การบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์
1. นำอวัยวะบางส่วน เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ฯลฯ ไปเปลี่ยนให้กับผู้ป่วยที่อวัยวะนั้นๆ เสื่อมสภาพเพื่อให้มีชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น 1. อุทิศร่างกายเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ศึกษาส่วนต่างๆ ของอวัยวะในร่างกายมนุษย์
2. ต้องเสียชีวิตจากสมองตายเท่านั้น 2. เสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ มีอวัยวะครบถ้วน ยกเว้นผู้บริจาคดวงตา
3. หลังจากผ่าตัดนำอวัยวะออกซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง แพทย์ตะตกแต่งร่างกายให้คงเดิมและมอบให้ญาตินำกลับไปประกอบพิธีทางศาสนาได้ 3. หลังจากเสียชีวิตแล้วต้องแจ้งให้ไปรับร่างกายภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากการศึกษาซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลอาจารย์ใหญ่ให้
4. รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะจากผู้มีจิตกุศลทั่วประเทศ 4. มีขอบเขตการรับอุทิศร่างกายจำกัด เช่น รับเฉพาะผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (รายละเอียดขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน)
5. แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เหล่ากาชาดจังหวัดทุกแห่ง ร.พ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น ร.พ.ชลบุรี ร.พ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และหน่วยเคลื่อนที่ต่างๆ 5. ติดต่อได้ที่คณะแพทยศาสตร์ทุกแห่ง

จากข้างต้นพอจะเห็นความแตกต่างกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็สามารถแสดงความจำนงบริจาคได้ทั้งอวัยวะและร่างกาย แต่เมื่อเสียชีวิตจะบริจาคอะไรได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุการเสียชีวิต เพราะผู้ที่สามารถบริจาคอวัยวะได้ต้องเสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายเท่านั้น เช่น เส้นเลือดในสมองแตก เนื้องอกในสมอง ส่วนผู้ที่บริจาคร่างกายเสียชีวิตด้วยภาวะปกติ เช่น ชราภาพ ฯลฯ 

การบริจาคทั้งสองกรณีถือว่าเป็นการทำทานที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้คนได้มากมายไม่สูญเปล่า หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ของสภากาชาดไทยหรือเส้นทางลิงค์ด้านล่าง ขออนุโมทนาบุญคะ ^/\^

ขอขอบคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น