วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต (3)

สวัสดีคะ ^/\^

มาถึงตอนที่ 3 ของ "20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" เพื่อโลหิตที่มีคุณภาพและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาค จากตอนที่แล้วแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็สามารถส่งผลกระทบได้อย่างใหญ่หลวง เพราะฉะนั้นหากท่านใดต้องการอ่านตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ก็สามารถคลิกได้คะ
 
"Safe Blood Starts With Me - โลหิตคุณภาพดีเริ่มจากตัวท่าน"

11. ท่านหรือคู่ของท่านมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น
     โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างจะแสดงอาการรวดเร็ว แต่บางอย่างจะไม่แสดงอาการอย่างใด และที่สำคัญคือระยะฝักตัวอาจตรวจแล้วไม่พบว่ามีเชื้อ ทั้งๆ ที่ผู้บริจาคมีเชื้ออยู่แล้ว (Window period) ดังนั้น จึงมีความสำคัญมากในการถูกซักถามและต้องตอบตามความจริง ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะได้รับเชื้อหรือไม่ ให้งดบริจาคโลหิตไว้ก่อน

12. เคยเจ็บป่วยรับโลหิต หรือพำนักในประเทศอังกฤษระหว่างปี 2523-2539
     เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาแพร่ระบาดของโรควัวบ้า งดบริจาคโลหิตอย่างถาวร

13. อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน
     ถ้าสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ตรวจความเข้มข้นของโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคได้
โอเมก้า 3 คิวเอช อัลตร้า

14. รับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อ
     ยาที่ใช้อาจมีผลทำให้ยาไปยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้โลหิตแข็งตัวช้า โลหิตไหลแล้วหยุดยาก ควรแจ้งการใช้ยาดังกล่าวกับแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์ก่อนบริจาค

15. รับประทานยาแก้อักเสบภายใน 7 วัน หรือยาอื่นๆ โปรดระบุ
     การที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะ หมายถึงผู้บริจาคมีการติดเชื้ออยุ่ ซึ่งอาจแพร่เข้าสู่กระแสโลหิตส่งมาถึงผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ผุ้ป่วยที่รับโลหิตอาจมีการการแพ้ยาแก้อักเสบหรือยาปฏิชีวนะบางชนิดได้เช่นกัน

16. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ
     ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่สามารถบอกได้ว่าหายขาดหรือไม่มีเชื้อแล้ว ควรงดบริจาคและปรึกษาแพทย์เพื่อติดตามผลต่อไป

17. ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
     เช่น วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ และเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า เป็นต้น

โปรดติดตามโพสต์ต่อไปที่จะกล่าวถึง 3 ข้อสุดท้ายในการประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิตคะ ^/\^

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ขอขอบคุณ
"20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เกมแอ๊คชั่น (action game)

เกมแอ็คชั่น (action game)

เป็นประเภทของเกมที่เล่นได้ง่าย ใช้การบังคับทิศทางและการกระทำของตัวละครในเกมเพื่อผ่านด่านต่างๆ ไป มีตั้งแต่เกมที่มีรูปแบบง่ายๆ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยอย่างเกมมาริโอ้, ร็อคแมน ไปจนถึงเกมแอ็คชั่นที่มีเนื้อหารุนแรง บางเกมมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เข้ามาเพื่อเพิ่มความสนุกของเกมจนกลายเป็นเกมรูปแบบใหม่เช่น

- Sneak Tactical Action คือเกมแอ็คชั่นที่ไม่เน้นการบุกตะลุย แต่ใช้การหลอกล่อฝ่ายศัตรูเพื่อผ่านอุปสรรคไปให้ได้

- Simulation Action คือเกมแอ็คชั่นที่สร้างสถานการณ์ขึ้นมา แล้วให้ผู้เล่นหาทางผ่านไปให้ได้โดยใช้การควบคุมที่มีอยู่

- Platform Action เป็นเกมแอ็คชั่นพื้นฐานที่วางฉากไว้บนพื้นที่ขนาดหนึ่งและให้ผู้เล่นผ่านเกมไปให้ได้ทีละด่าน

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต (2)

สวัสดีคะ ^/\^

ในครั้งที่แล้วได้กล่าวไป 5 คำถามแรก หากท่านใดยังไม่ได้อ่านสามารถอ่าน "20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ได้คะ เรามาประเมินสุขภาพกันต่อเพื่อโลหิตที่มีคุณภาพและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาคเองคะ

"Safe Blood Starts With Me - โลหิตคุณภาพดีเริ่มจากตัวท่าน"

6. น้ำหนักลดในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่ทราบสาเหตุ
     การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ซภายในระยะเวลาิัอันสั้นอาจมีสาเหตุจากโรคที่อันตราย เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อต่างๆ รวมถึงสภาวะทางด้านจิตใจ เช่น วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงไม่ควรบริจาคโลหิตและควรไปตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล
     การรับประทานยาลดน้ำหนักก็ไม่ควรบริจาคโลหิต เพราะยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิด มีทั้งยากดการทำงานของระบบประสาท ยากระตุ้นทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากผิดปกติ (ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริจาคทั้งสิ้น) ส่วนการควบคุมน้ำหนักด้วยการจำกัดอาหาร หรือออกกำลังกายสามารถบริจาคโลหิตได้

โอเมก้า3 ดีเอชเอ น้ำมันปลาพริเมี่ยม
7. ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน รักษารากฟัน ภายใน 3 วันที่ผ่านมา ผ่าฟันคุด เว้น 7 วัน
     การรักษาในช่องปากทำให้เกิดบาดแผลหรือการอักเสบ อาจเป็นช่องทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสโลหิตได้ ส่วนผู้ป่วยอาจพลอยได้รับเชื้อที่ส่งผ่านโลหิต

8. เคยมีประวัติติดยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี
     ผู้ที่เคยมีประวัติติดยาเสพติดหรือเพิ่งพ้นโทษจะมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง โดยเฉพาะโรคเอดส์และโรคตับอักเสบ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้เข็มร่วมกันหรือแม้การเสพย์โดยการกิน หรือการสูดดม อาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่่ยงทางเพศภายหลังการใช้ยาได้

9. เคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
     เมื่อเคยป่วยและได้รับโลหิตจากผู้อื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานต่อระบบหมู่โลหิตได้ ถึงแม้จะมีการตรวจเพื่อหาหมู่โลหิตหลักที่เข้ากันได้แต่หมู่ย่อยไม่สามารถหาได้ตรงกันทั้งหมด ก็ยังคงเป็นปัญหากับผู้ป่วย

10. เดินทางหรือพำนักในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือเคยป่วยเป็นโรคมาเลเรียในระยะ 3 ปี
     เนื่องจากยังไม่มีการตรวจเชื้อมาเลเรียทางห้องปฏิบัติการที่ไวเพียงพอ ถ้าเราไปอยู่ในพื้นที่ถึงแม้ไม่ป่วยเป็นโรคมาเลเรียต้องเว้นการบริจาค 1 ปี หรือถ้าป่วยเป็นโรคนี้ต้องหายแล้ว 3 ปี

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่าแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็สามารถส่งผลกระทบได้อย่างใหญ่หลวง โปรดติดตามอีก 10 ข้อที่เหลือซึ่งจะทยอยโพสต์คะ ^/\^

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ขอขอบคุณ
"20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เทศกาลกินเจ 2555/2012

สวัสดีคะ ^/\^

วันจันทร์ที่ 15 ต.ค.55 ก็เป็นเทศกาลกินเจแล้วคะ หลายท่านถือว่าช่วงกินเจเป็นการดีท็อกซ์ ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย แต่จะได้ผลดีถ้าเป็นผักและผลไม้ มิใช่วัตถุดิบเลียนแบบที่ทำมาจากแป้ง เพราะแป้งเมื่อผ่านการย่อยแล้วกลายเป็นน้ำตาลเมื่อร่างกายรับเข้าไปมากๆ ทำให้ง่วงนอนง่ายและอ้วนกว่าเดิมแน่นอน

ทั้งก่อนและหลังกินเจกัน 9 วันควรมีการเตรียมตัวโดยเริ่มทานอาหารอ่อนๆ เช่น ปลา ผัก และผลไม้มากขึ้นกว่าเดิม ค่อยๆ ลดอาหารที่มีไขมันและเนื้อสัตว์เพื่อระบบการย่อยของคุณเองจะได้ไม่ปั่นป่วน เกิดท้องเดินให้เสียอารมณ์เนีื่องจากการเปลี่ยนแปลงการกินโดยกระทันหัน

โททัล บาลานซ์ พลัส สารอาหารรวม 68 ชนิด
ในอาหารเจมีสารอาหารครบ 5 หมู่จึงไม่ต้องห่วงในเรื่องขาดสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ได้จากข้าว เผือก มัน และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากแป้ง วิตามินและเกลือแร่จากผักและผลไม้ โปรตีนได้จากผลิตภํณฑ์ถั่วต่างๆ และไขมันจากน้ำมันพืช หลายๆ คนพยายามหลีกเลี่ยงไขมันแต่ร่างกายก็ต้องการจึงควรบริโภคแต่พอดี

หากใครกลัวว่าสารอาหารจะไม่เพียงพอก็มีตัวช่วยอย่างอาหารเสริม หากเป็นวิตามินรวมแนะนำให้เลือกที่มี Enteric Coating เพราะเจ้าตัวนี้มีเพื่อประสิทธิภาพในการนำพาสารอาหารไปถึงลำไส้เล็กซึ่งสารอาหารทั้งหลายที่ทานเข้าไปจะถูกดูดซึมที่ลำไล้เล็กโดยไม่ถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำลาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เทศกาลกินเจนี้นอกจากได้สุขภาพที่ดีแล้วยังได้บุญ ขออนุโมทนาบุญด้วยคะ ^/\^




วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

30+ โสด On Sale (2012)

     สลัดเลข 30 ทิ้งคำว่า “โสด” แล้วกระโดดลงจากคาน กับภาพยนตร์แนวตลกโรแมนติกสอดผสานเคล็ดลับเด็ดสุดฮากับภารกิจการตามล่าหา หนุ่มตามสเปคที่จะพาสาวโสดวัยทำงานแอบฮาน้ำตาเล็ดใน 30+ โสด On Sale

เรื่องย่อ:
     อิง (พลอย เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) ช่างภาพสาวฝีมือดีพอๆ กับหน้าตา สาวมั่นยุคใหม่ที่เชื่อว่ายังไงก็ตาม “คาน” ไม่ใช่แหล่งพักพิงสุดท้ายสำหรับสาวสวยรวยความสามารถอย่างเธอจะสิงสถิตย์อยู่ ถ้าบังเอิญแฟนหนุ่มที่คบกันมา 7 ปีดันขอไปแต่งงานกับคนอื่น
     ชีวิตต้องเสียศูนย์เมื่อดันมาสูญเสีย “คนรัก” แต่ช้าก่อน !!! ใครละที่จะเข้าถึงหัวจิตหัวใจลูกผู้หญิงด้วยกัน ถ้าไม่ใช่ “เพื่อนสนิท” อย่าง มิ้นท์ (เจี๊ยบ พิจิตรา สิริเวชชะพันธ์) และ ยี้ (ตุ๊กกี้ชิงร้อย) ที่สำคัญทั้งคู่ล้วนอยู่ในวัย 30 แถมยังเป็นกูรูตัวแม่ที่จะมาช่วยสลัดความ “โสด” และ ความ “โศก” ออกจากอกเพื่อนสาวในแบบฉบับของแต่ละ she แต่เมื่อเข้าตาจนอยู่ๆ ฟ้ามีตาส่ง จืด (เป้อารักษ์ อมรศุภศิริ) หนุ่มหน้าตาสมชื่อมาช่วยอิงตามหา “ผู้ชายในฝัน” พร้อมกับสารพัดวิธีที่จะช่วยให้ สาว 30 อัพ อย่างอิงลงจากคาน เพียงแต่เจ้าตัวต้องเชื่อใจและทำตามที่จืดบอก

ความคิดเห็น:
     โดยรวมแล้วดีแต่เหมือนยังไม่สุด อาจจะเป็นเพราะหนังเรื่องนี้มีรายละเอียดตัวละครรองมากไปหน่อย จึงทำให้เหมือนกับยังถ่ายทอดตัวละครหลักออกมาไม่เต็มที่ ตลกในบางมุกที่พอจะเดาได้ ลงคะแนนให้ 2.5/5 คะแนน

ข้อมูลภาพยนตร์

ชื่อเรื่อง : 30+ โสด On Sale
ประเภท : DVD Movie
แนวหนัง : Comedy / Drama / Romance
ผู้กำกับ : พุฒิพงศ์ พรหมสาขา
นักแสดงนำ : เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ (พลอย), อารักษ์ อมรศุภศิริ, สุดารัตน์ บุตรพรม (ตุ๊กกี้), พิจิตรา สิริเวชชะพันธ์
ระบบเสียง : Dolby Digital 5.1 : Thai , Dolby Stereo 2.0 : Thai
จำนวน : 1 แผ่น

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต

สวัสดีคะ ^/\^

ในครั้งที่แล้วได้กล่าว ส่วนประกอบของโลหิตและประโยชน์จากการบริจาคโลหิต อ่านแล้วได้ทั้งบุญและประโยช์ต่อหัวใจมากอยากบริจาคโลหิตกันแล้วใช่่ไหมคะ เพียงท่านประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิตเพื่อคำนึงถึงโลหิตที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่อาจจะได้รับโลหิตที่มีเชื้ออยู่ในระยะฟักตัว และตรวจด้วยน้ำยาไม่พบ และเป็นการทบทวนว่าผู้บริจาคมีสุขภาพที่ดีพร้อมบริจาคโลหิตหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้บริจาคเองคะ

"Safe Blood Starts With Me - โลหิตคุณภาพดีเริ่มจากตัวท่าน"

1. อายุ 17-70 ปี สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต
     การรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคที่มีอายุ 17 ปี กฎหมายไม่อนุญาตให้ตัดสินใจได้เองต้องมีหนังสือรับรองยืนยันให้สามารถบริจาคโลหิตจากผู้ปกครอง
      ส่วนผู้บริจาคโลหิตที่มีอายุตั้งแต่ 61-70 ปีต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม โดยแพทย์ธนาคารเลือกหรือหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต ในวันเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์ (เวลา 08.00-12.00น.) บริจาคโลหิตครั้งแรกต้องมีกายุไม่เกิน 55 ปี

2. สุขภาพสมบูรณ์และพักผ่อนเพียงพอ
โอเมก้า 3 ดีเอชเอ น้ำมันปลา 1000 มิลลิกรัม
     ควรนอนพักผ่อนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง แต่ถ้าการนอนนั้นไม่เป็นปกติและเพียงพอต่อร่างกายโดยไม่มีการอ่อนเพลียใดๆ สุขภาพพร้อมในวันที่บริจาคโลหิตก็พิจารณาให้บริจาคโลหิตได้

3. รับประทานอาหารประจำมื้อเรียบร้อยแล้ว
     ก่อนบริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารมาให้เรียบร้อย แต่ไม่ควรเป็นอาหารที่มีไขมัน เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เป็นต้น

ข้อแนะนำ ควรงดอาหารที่มันๆ ก่อนบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมงจะเป็นการดี

4. คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
     การคลิดบุตรหรือแท้งบุตรจะมีการเสียเลือดเป็นจำนวนมากต้องใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อให้มีการสร้างเม็ดโลหิตแดงที่มีคุณภาพขึ้นมาใหม่ และเพื่อให้ร่างกายมีการพักฟื้นที่ดีจึงควรงดบริจาค 6 เดือน และที่อยุ่ในระยะให้นมบุตร เนื่องจากน้ำนมผลิตขึ้นมาจากสารอาหาร การเสียโลหิตในการบริจาคอาจทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไปได้
     ส่วนการตั้งครรภ์ มารดาควรเก็บโลหิตของตนเองเอาไว้เพื่อเลี้ยงบุตรในครรภ์และเป็นโลหิตสำรองในร่างกายเมื่อตอนคลอด ควรงดบริจาคชั่วคราว

5. ท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วัน
     การที่ผู้บริจาคโลหิตท้องเสีย ท้องร่วงจะมีผลทำให้ผู้บริจาคมีอาการป่วยและอ่อนเพลียมากขึ้นได้ ส่วนผู้รับบริจาคโลหิตอาจพลอยได้รับเชื้อที่ส่งผ่านมากับโลหิต

อีก 15 ข้อที่เหลือจะทยอยโพตส์ต่อไปคะ ^/\^

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ขอขอบคุณ
"20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย