หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต (4จบ)

สวัสดีคะ ^/\^

มาถึงตอนสุดท้าย ของ "20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" เพื่อโลหิตที่มีคุณภาพและเพื่อความปลอดภัยของผู้บริจาค จากตอนแล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ต้องระวังไม่แพ้กันเลยคะ ท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ

"Safe Blood Starts With Me - โลหิตสุขภาพดีเริ่มจากตัวท่าน"

18. เป็นโรคหอบหืด โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรคหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ
     โรคดังกล่าวล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรงทั้งสิ้น จึงจำเป็นต้องใช้ยาควบหุมรักษาอย่างต่อเนื่อง และถ้าเกิดความประมาณไม่ดูแลตนเองให้ดีอาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่ปลอดภัย หรือมีปัญหาต่อสุขภาพตามมาได้ จึงควรพิจารณาดังนี้

     18.1 การเป็นโรคหอบหืด แล้วมาบริจาคโลหิตอาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการดังกล่าวกำเริบ

     18.2 โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ถ้าใช้ยาควบคุมอย่างต่อเนื่องยังอนุโลมให้บริจาคได้ และไม่มีโรคแทรกซ้อนในระบบหลอดเลือดและหัวใจ

     18.3 โรคหัวใจทุกชนิด ไม่ควรบริจาคโลหิตเลย

     18.4 โรคไต ถ้าเป็นชนิดเรื้อรัง ห้ามบริจาค แต่ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลันและรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคได้

     18.5 โรคไทรอยด์ ถ้าเป็นชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้วบริจาคได้ ถ้าเคยเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหายแล้วและหยุดยาแล้วก็ไม่ควรให้บริจาคโลหิตอีก เพราะอาจมีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริจาคซึ่งยังมีการศึกษาไม่แน่ชัด

โททัล บาลานซ์ พลัส สารอาหารรวม 68 ชนิด 
     18.6 โรคมะเร็งทุกชนิด แม้รักษาหายแล้วไม่ควรบริจาคโลหิตอีก เพราะมะเร็งส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุและตำแหน่งการแพร่กระจายหรือแฝงตัวของโรคจึงไม่ควรบริจาคโลหิตอีกเลย แนะนำให้หมั่นตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

     18.7 โรคโลหิตออกง่าย หยุดยาก ส่วนใหญ่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ควรงดบริจาคโลหิต เพราะมีโอกาสเสียโลหิตเองและจะหยุดยากตามชื่อของโรค

     18.8 โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคโลหิตและดูแลรักษาสุขภาพโดยแพทย์เฉพาะทาง

19. เจาะหู หรืออวัยวะอื่น สัก ลบรอยสัก ฝังเข็มในระยะ 1 ปี
     เข็มเจาะหรือรูแผลที่ผิวหนังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางโลหิตและน้ำเหลือง และสามารถส่งต่อให้ผู้รับโลหิตอีกด้วย เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี และซี เป็นต้น

20. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็กภาายใน 7 วัน
     การทำผ่าตัดใหญ่บางอย่างอาจเสียโลหิตไปจำนวนหนึ่ง แผลผ่าตัดต้อใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ดังนั้นจึงควรงดเว้นการบริจาคโลหิตชั่วคราว
     ส่วนการผ่าตัดเล็ก แม้ว่าจะมีการเสียโลหิตไม่มากแต่แผลผ่าตัดที่ผิวหนังก็ต้องใช้เวลาในการซ่อมแซม และหากบางรายรับโลหิตด้วย ต้องเว้น 1 ปี

ประเมินสุขภาพครบ 20 ข้อแล้ว ดิฉันขออนุโมทนาบุญกับผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้คะ ซึ่งท่านได้ทำทานปรมัตถบารมีถือเป็นทานขั้นสูงสุดเลยทีเดียว และที่สำคัญควรดื่มน้ำ 3-4 แ้ก้ว ก่อนการบริจาคโลหิตอย่งน้อยครึ่งชั่วโมงคะ

โปรดติดตามโพตส์ถัดไปซึ่งเกี่ยวกับการรับบริจาคพลาสมาเพื่อผลิตเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า สาระดีๆ จากสภากาชาดไทย สวัสดีคะ ^/\^

ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสาขาบริการทั่วประเทศ
โทร.0-2263-9600-99 ต่อ 1770, 1771, 1760, 1761

ขอขอบคุณ
"20 คำถาม ประเมินสุขภาพก่อนการบริจาคโลหิต" ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น