สวัสดีค่ะ ^/\^ โพสต์ที่แล้วแนะนำภาพยนต์เกี่ยวกับการโจรกรรมทางความคิดไป (Inception) โพสต์ครั้งนี้จึงขอเกี่ยวกับความทรงจำกันหน่อยค่ะ
เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าทำไ
มบางสิ่งที่เราอยากจะจำให้ไ
ด้ถึงชอบลืมนัก หรือบางสิ่งที่เล็กๆ น้อยๆ และไม่จำเป็นต้องจำก็กลับจำ
ได้ บางเรื่องผ่านมานานแล้วแต่ก
็ยังจำได้แม่น แต่กลับเรื่องที่เพิ่งเกิดไ
ม่ถึงวันกลับจำไม่ได้เสียแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองของเ
รามีความมหัศจรรย์และความพิศวงมากมาย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ม
ีนักวิทยาศาสตร์คนไหนจะเปิด
เผยความลั
บที่อยู่ภายในสมองของเราได้ทั้งหมด
แต่วันนี้เราจะพาทุกคนไปพบกับความพิศวงบางอย่างของสมองที่คุณอาจไม่เคยรู้ แต่ได้รับการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์แล้ว ไปดูกันสิว่ามีอะไรบ้าง
1. ประตูทำลายความทรงจำ
คิดว่าหลายคนต้องเคยเป็นอย่างแน่นอน ที่เมื่อเวลาเราตั้งใจว่าจะเดินไปอีกห้องหนึ่งเพื่อทำบางสิ่ง แต่พอเราเดินผ่านพ้นประตูไปเท่านั้นล่ะ ก็ลืมไปเลยว่าจะมาทำอะไร ทั้งๆ ที่เพิ่งจะคิดไปเมื่อสักครู่นี้เอง นั่นก็เป็นเพราะว่าเจ้าประตูได้ทำลายความทรงจำเมื่อครู่ไปแล้วล่ะค่ะ อ๊ะ ๆ สงสัยใช่ไหมว่าทำอย่างไร ซึ่งนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม อย่าง Gabriel Radvansky ได้บอกให้เรารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า เมื่อเราเดินผ่านประตู สมองของเราก็จะมองประตูว่าเป็นเขตแดนของเหตุการณ์ และจะแบ่งความทรงจำของเหตุการณ์นั้นออกไปจากสิ่งที่เกิดขึ้น ณ วินาทีนั้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นก็จะทำให้เรานึกเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่อีกห้องหนึ่งไม่ค่อยออก เวลาที่เราเดินมาอีกห้องหนึ่งแล้วนั่นเองค่ะ
2. กิจกรรมบางอย่างลบความทรงจำ
มันเป็นเรื่องน่าแปลกที่ว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถส่งผลให้เราสูญเสียความทรงจำได้ชั่วคราวหรือไม่ก็ทำให้เราจำความทรงจำเหล่านั้นได้ไม่ชัดเจน ซึ่งภาวะนี้ถูกเรียกว่าโรคความจำเสื่อมชั่วขณะ โดยมีการรายงานว่า การมีเพศสัมพันธ์ก็คือกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ลืมความทรงจำไปชั่วขณะได้ นอกจากนี้ยังทำให้การรื้อฟื้นความทรงจำเป็นไปได้ยากอีกด้วย
โรคความจำเสื่อมชั่วขณะนี้ไม่ร้ายแรงและไม่ใช่ปัญหา เพราะความทรงจำเหล่านั้นจะกลับมาในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่มันก็จะไม่ชัดเจนเหมือนเก่า ซึ่งเมื่อทำการสแกนสมองของผู้ที่เป็นโรคนี้ก็ไม่ได้มีการพบความเสียหายของสมองหรือสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองแต่อย่างใด
3. ความทรงจำของเราจะยังคงอยู่เสมอ แม้เราจะจำมันไม่ได้แล้ว
ในปี 2013 มีการรายงานถึงกรณีน่าประหลาดเมื่อผู้หญิงคนหนึ่งได้เห็นภาพหลอนเกี่ยวกับเพลงที่เธอไม่รู้จักแต่เรื่องอื่นๆ กลับจำได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่าผู้หญิงคนนี้มีแนวโน้มว่าจะเคยรู้จักเพลงนี้มาก่อนแต่ก็ลืมมันไป ซึ่งในความจริงแล้วความทรงจำไม่ได้หายไปไหน แต่แค่เพียงถูกเก็บเอาไว้ในรูปแบบอื่นๆ ที่สมองเข้าถึงได้ แต่เราอาจไม่สามารถเข้าถึงมันได้ โดยเป็นไปได้ว่าสมองของเธออาจจะทำการแยกส่วนของความทรงจำเกี่ยวกับเพลงๆ นี้เอาไว้ในรูปแบบอื่นที่ทำให้เธอไม่สามารถเข้าถึงได้
4. สมองถูกตั้งโปรแกรมให้ลืมเรื่องในวัยแรกเกิด
เคยสังเกตกันหรือเปล่าว่าเราไม่สามารถจำเรื่องราวเมื่อตอนที่เรายังเด็กมากได้เลยสักนิด จะจำได้ก็ช่วงที่เข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่า ความทรงจำเหล่านั้นเป็นความทรงจำในช่วงวัยแรกเกิดซึ่งจะค่อยๆ ลืมเลือนไปเมื่อเราโตขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์สาเหตุไว้ว่า เนื่องจากในช่วงแรกเกิดเรายังไม่มีทักษะทางภาษาจึงทำให้เราไม่สามารถจำสิ่งต่างๆ ในช่วงอายุนั้นได้ แต่งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าที่เราไม่สามารถจำความทรงจำในช่วงปีแรกๆ ของชีวิตได้นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองได้เติบโตและพัฒนาหลังจากช่วงอายุวัยแรกเกิดจึงได้มีการสร้างเซลล์เพื่อลบความทรงจำในช่วงดังกล่าวไป เพื่อรองรับความทรงจำในช่วงที่โตขึ้นนั่นเอง
5. การบาดเจ็บของสมองอาจเป็นสาเหตุของการเสียความทรงจำ
มีการศึกษาพบว่าการสูญเสียความทรงจำอาจเกิดขึ้นได้เมื่อความทรงจำบางอย่างเกิดขึ้นในช่วงก่อนอาการบาดเจ็บที่สมอง ซึ่งความจำนั้นไม่นานพอที่จะทำให้สมองเก็บความทรงจำช่วงนั้นไว้ โดยส่วนใหญ่การสูญเสียความทรงจำจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ดูแลรักษา และการเรียกคืนความทรงจำได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะความจำเสื่อมได้
หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจนั่นก็คือผู้ป่วยคนหนึ่งที่ได้รับการรักษาโรคลมบ้าหมูด้วยการนำสมองส่วนฮิปโปแคมปัสออกไป สามารถรื้อฟื้นความทรงจำและสร้างความทรงจำใหม่ๆ ได้ และอีกกรณีหนึ่งก็คือคนไข้ที่เกิดการติดเชื้อไวรัสในสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองอักเสบ แต่ก็สามารถฟื้นฟูความทรงจำได้ใหม่เช่นเดียวกัน
สมอง ยังคงเป็นพื้นที่ส่วนที่มีความน่าพิศวงและความเร้นลับอีกมากมายที่รอให้ นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเพื่อหาข้อพิสูจน์
อย่างไรก็ตาม สมองก็ยังคงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรดูแลและบำรุงสมองอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งการฝึกสมองต่างๆ นอกจากนี้ยังควรสังเกตความผิดปกติอีกด้วย หากรู้สึกจำอะไรไม่ค่อยได้ หรือรู้สึกว่าพฤติกรรมของตนเองเปลี่ยนไปโดยไม่มีสาเหตุ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ดีกว่านะคะ เพราะบางทีนั่นอาจจะเป็นสัญญาณของอันตรายบางอย่างที่เกิดขึ้นกับสมองได้ สวัสดีค่ะ ^/\^
ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลจาก huffingtonpost.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น