อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง คืออาหารประเภทข้าว แป้งที่ไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา สันในไก่ อกไก่ และผักผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง มะละกอ เพราะเส้นใยมีประโยชน์ในการไปจับสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) แล้วขับออกทางปัสสาวะ ที่สำคัญคือควรดื่มน้ำมากๆ
ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือเนื้อแปรรูป เช่น หมูบด เนื้อสะโพก ไส้กรอง และโดยเฉพาะอาหารที่ผ่านน้ำมันทอดซ้ำที่เป็นแหล่งของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็ง จากการวิจัยพบว่าวิตามินหลากหลายชนิดในผักและผลไม้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ผลป้องกัน และจับอนุมูอิสระที่เป็นสาเหตุของมะเร็งได้ดี
โอเมก้า 3 ดีเอชเอ น้ำมันปลาพริเมี่ยม |
ทำความรู้จักกับสารไลโคปีน (Lycopene)
ไลโคปีน จัดเป็นสารในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่พบกระจายอยู่ทั่วไปในร่างกาย แต่เนื่องจากร่างกายมนุษญ์ไม่สามารถสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ขึ้นเองได จึงจำเป็นต้องได้รับจากการบริโภค ส่วนใหญ่แล้วไลโคปีนที่เรารับประทานกัน (55%) ได้มาจากผลของมะเขือเทศรวมทั้งผลิตภัณฑ์จากมะเขื่อเทศ และยังพบได้จากผลไม้อื่นๆ หลายชนิด ได้แก่ แตงโม ฝรั่ง มะละกอ และพืชพวกส้มจากการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งของสารไลโคปีนอยู่หลายงาน ยกตัวอย่างเช่น
- การรับประทานอาหารที่มีไลโคปีนสูงสามารถเพิ่มปริมาณไลโคปีนในเลือด และส่งผลลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป
- ไลโคปีนอาจมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยจะลดการเกิดเนื้องอกและยับยั้งการพัฒนา วงจรชีวิตของเซซล์ในช่วงต้นของการเกิดเซลล์มะเร็ง (ระยะG1) และไลโคปีนอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- การรับประทานมะเขือเทศในอัตราสูงจะช่วยลดอัตราการเป็นโรคมะร็งต่อมลูกหมากทุกประเภทได้ถึง 35% และลดความรุนแรงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 53%
- สารสกัดจากมะเขือเทศที่ประกอบด้วยไลโคปีน 30 มิลลิกรัมต่อวันจะช่วยลดการเจริญเติบโตของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในคนไขภายหลังจากการรักษาโรคมาแล้ว 3 สัปดาห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น