หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคนำไปทำอะไรบ้าง (Blood Components Transfusion) 2

สวัสดีคะ ^/\^

โพสต์ที่ผ่านมาได้กล่าวถึงส่วนประกอบของโลหิต นึกไม่ถึงว่าโลหิตจะมีส่วนประกอบมากมายขนาดนี้ โพสต์ครั้งนี้เรามาดูว่า "การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต" จะเป็นอย่างไรท่านใดสนใจอ่านย้อนหลังคลิกลิงค์ที่ "บทความน่าอ่าน" คะ


การใช้ส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต (Blood Components and Blood Products)

1. โลหิตรวม (Whole Blood) ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต เช่น อุบัติเหตุ โลหิตออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ การผ่าตัดหัวใจ เป็นต้น

2. โลหิตรวมที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำมาก (Leukodepleted Whole Blood: LDWB) ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ใช้กับผู้ป่วยที่เกิดภาวะเสียโลหิต

3. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น (Packed Red Cells: PRC) เตรียมโดยการปั่นแยกเอาพลาสมาจากโลหิตทั้งหมด เหลือแต่เม็ดโลหิตแดง ใช้สำหรับการถ่ายโลหิตและใช้ในการผ่าตัด ผู้ป่วยโรคหัวใจ โลหิตจาง และในภาวะคนป่วยที่ซีดมาก เช่น โรคกระดูกฝ่อ มะเร็งเม็ดเลือด ธาลัสซิเมีย เป็นต้น

4. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำมาก (Leukodepleted Packed Red Cells: LDPRC) ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ ใช้ในการผ่าตัดภาวะซีดบางโรค เป็นต้น

5. เม็ดโลหิตแดงเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำ (Leukocyte-Poor Packed Red Cells: LPRC) เตรียมโดยการใช้เครื่องบีบอัตโนมัติแยกเม็ดโลหิตขาวออก ใช้สำหรับผู้ปวยที่มีอาการแพ้เม็ดโลหิตขาว และผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดบ่อยๆ ลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดใช้ในการผ่าตัด ภาวะซีดบางโรค เป็นต้น

6. เกล็ดโลหิตเข้มข้น (Plateler Concentrates: PC) ได้จากการปั่นแยกจากโลหิตรวม รักษาผู้ป่วยที่ภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ เช่น ไข้เลือดออก, เลือดออกในสมอง, เกล็ดเลือดไม่ทำงาน, คนไข้ไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

7. เกล็ดโลหิตเข้มข้นที่มีเม็ดโลหิตขาวต่ำ (Leukoctr-Poor Platelet Concentrate: LPPC) สามารถลดปฏิกิริยาจากการให้เลือดที่เกิดจากเม็ดโลหิตขาวได้ ใช้กับผู้ป่วยที่เกล็ดโลหิตผิดปกติ


โพสต์ครั้งนี้เกริ่นไว้ 7 ข้อก่อน โพสต์ถัดไปจะกลาวถึง 7 ข้อถัดไปโปรดติดตามคะ ^/\^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น